วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย


          สํานวน สุภาษิต 
         และคำพังเพย


สำนวน หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียง, โวหาร,บางทีก็ใช้ว่า สํานวนโวหาร เช่น สารคดีเรื่องนี้สํานวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สํานวน โวหารลุ่ม ๆ ดอน ๆ; คดี เช่น ปิดสำนวน; ถ้อยคําหรือข้อความ ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตาม ตัวหรือมีความหมายอื่น แฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้ารําไม่ดีโทษปี่โทษกลอง, ถ้อยคําที่แสดงออกมาเป็นข้อความ พิเศษ เฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ เช่น สํานวนฝรั่ง สํานวนบาลี, ชั้นเชิงหรือท่วงทํานองในการแต่งหนังสือหรือพูด เช่น สํานวน เจ้าพระยาพระคลัง (หน) สํานวนยาขอบ สํานวนไม้ เมืองเดิม; ลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่ง ๆ






           

             สุภาษิต หมายถึงถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มี ความหมายเป็นคติสอนใจ เช่น
รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ
นํ้าเชี่ยวอย่าขวางเรือ
         1.    คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่านหรือเข้าใจเนื้อความได้ทันที  โดยไม่ต้องแปลความหมาย  ตีความหมายเช่น




2.        คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่านหรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันทีต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น
เช่น  ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว


      คำพังเพย ความหมายตามพจนานุกรม หมายความว่า "คำที่กล่าวขึ้นลอย ๆ เป็นคำกลางเพื่อตีให้เข้ากับเนื้อเรื่อง"
       คำพังเพยเป็นถ้อยคำที่มีลักษณะเดียวกับสำนวน แต่ต่างจากสำนวนตรงที่มีจุดมุ่งหมายเชิงสั่งสอน แต่เป็นไปในทำนองเสียดสี ประชดประชัน แฝงความหมายเชิงติชมไว้ด้วย คำพังเพยส่วนมากมีลักษณะเป็นข้อคิด และมีความหมายลึกซึ้ง เนื้อความที่สั่งสอนนั้น ไม่ได้เป็นความจริงอันเที่ยงแท้

           คำที่มาจากแมว มีหลายเรื่อง เช่น เรื่องที่มาจากนิทานพื้นบ้าน เรื่อง "ศรีธนญชัย"
ตอนที่ศรีธนญชัยกราบทูลขอที่ดินจากพระเจ้าแผ่นดิน ขอเพียงที่เท่าแมวดิ้นตายเท่านั้น
พระเจ้าแผ่นดินเห็นว่าเป็นที่ดินเพียงเล็กน้อย จึงทรงอนุญาต ศรีธนญชัยได้ทีจึงเอาแมวตัวหนึ่งมาผูกเชือกที่คอ
แล้วเฆี่ยนให้แมวดิ้นไปเรื่อย ๆ กว่าแมวตัวนั้นจะตายก็กินพื้นที่เป็นอาณาบริเวณกว้าง
 จากนิทานเรื่อง ศรีธนญชัย "ที่เท่าแมวดิ้นตาย" จะหมายถึง ที่ดินจำนวนมาก แต่ในการใช้เป็นสำนวน  จะหมายถึง ที่ดินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
แมวไม่อยู่ หนูละเลิง
           อย่าคิดว่า เขียนผิด หรือสะกดผิดนะคะ คำว่า ละเลิง
เป็นคำเก่าที่มีความหมายว่า เหลิงจนลืมตัว ลำพอง หรือคึกคะนอง
แต่ในปัจจุบันมักจะใช้      "แมวไม่อยู่ หนูร่าเริง"   สำนวนนี้หมายถึง
เวลาที่ผู้ให่ไม่อยู่ผู้น้อยก็เล่นกันคึกคะนอง ลำพองตน
ที่ว่าสำนวนนี้น่าสนใจก็เพราะว่า
การเอาธรรมชาติของหนูที่กลัวแมวมาเปรียบเทียบ โดยเปรียบแมวเป็นผู้ใหญ่
เปรียบหนูเป็นผู้น้อยนั่นเอง และบางโอกาสสำนวนนี้ก็จะมีคำต่อท้ายสำนวนด้วยคือ

"แมวไม่อยู่ หนูร่าเริง
แมวมาหลังคาเปิง"
นั่นคือเวลาผู้ใหญ่ไม่อยู่ ผู้น้อยก็เล่นกันอย่างเมามัน สนุกสนานครั้นผู้ใหญ่กลับมาก็ลนลาน รีบเก็บกวาดข้าวของและสถานที่ให้อยู่ในสภาพปกติเสมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ฝากเนื้อไว้กับเสือ ฝากปลาย่างไว้กับแมว
    มีที่มาจากบทเสภาหลวงเรื่อง
"ขุนช้าง-ขุนแผน" ตอนที่ขุนแผนทิ้งนางวันทองไว้กับขุนช้าง
แล้วขุนแผนก็คิดว่า "เราฝากวันทองไว้กับขุนช้างเหมือนฝากปลาย่างไว้กับแมว"
เพราะขุนช้างก็รักนางวันทองเช่นกัน ดังคำประพันธ์จากบทเสภาหลวงเรื่อง
ขุนช้าง-ขุนแผน ดังนี้

           เนื้อตกถึงเสือหรือจะงด    อร่อยรสค่อยกินเป็นภักษา
           ทิ้งไว้ให้มันสองเวลา    เจ้าแก้วตานี้จะเป็นประการใด
 สำนวนนี้บางทีอาจใช้ว่า "ฝากอ้อยไว้กับช้าง
ฝากปลาย่างไว้กับแมว" ก็ได้ทั้งสองแบบ
เพราะทั้งสองแบบมีความหมายเหมือนกันคือ ฝากสิ่งใดไว้กับผู้ที่ชอบสิ่งนั้น
ย่อมสูญเสียให้กับผู้นั้นไป
หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว    มีความหมายว่า
การทำประชดหรือแดกดันที่ผู้ทำรังแต่จะเสียประโยชน์ ตัวอย่างเช่น
คุณยกสมบัติให้เขาไปแบบนี้ เหมือนหุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว
เขายิ่งชอบใจ เอาไปถลุงใช้เพลินไปเลย เป็นต้น
             สำนวนนี้มีที่มาจากความจริงที่ว่า โดยทั่วไปแล้ว หมาชอบข้าว
และแมวก็ชอบกินปลา ดังนั้น เมื่อหุงข้าวหรือปิ้งปลาให้
ทั้งหมาและแมวก็กินเสียเพลิน มีความสุข แต่คนหุงคนปิ้งกลับเสียของเอง
เปรียบเหมือนเราโกรธใครแล้วให้ในสิ่งที่ผู้นั้นขอเพื่อเป็นการประชดแดกดัน
ก็เท่ากับเข้าทางเขา และผู้ที่เสียประโยชน์ก็คือตัวเราเอง
เพราะไหนจะไม่หายโกรธแล้ว ยังต้องเสียของไปอีก
           เรียกว่าเป็นการประชดแดกดันอย่างไม่ถูกทาง
และทำให้เสียหายเพิ่มขึ้น ดังเช่นคำประพันธ์จากสุภาษิตคำโคลงของสำนวน
"หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว" ดังนี้

              ประชดหมายเรียกร้อง เห็นใจ
           จึงทุ่มเทกลับไป    เฉกแสร้ง
           เขารอรับเร็วไว    ทุกสิ่ง เสนอนา
           เกิดก่อประโยชน์แล้ง    ต่างล้วนคือสูญ
ย้อมแมวขาย
           เป็นสำนวนที่เรามักจะได้ยินกันบ่อย ๆ
ในหมู่ของนักธุรกิจผู้ทำการค้า
ในสมัยโบราณคนมักนิยมเลี้ยงแมวไว้เป็นเพื่อนแก้เหงา
และเพื่อนก็มักต้องการให้เพื่อนดูดี สวยงาม คนสมัยโบราณจึงใช้ขมิ้นบ้าง
ปูนบ้าง มาย้อมสีขนของแมวให้มีสีสันที่สดใสสวยงามเป็นที่สะดุดตา
จึงเป็นที่มาของสำนวน
บางตำราก็ว่าสำนวนนี้มี
ที่มาจากบรรดาแมวมงคลทั้งหลาย ซึ่งนิยมเลี้ยงในหมู่เจ้าขุนมูลนาย
หากชาวบ้านนำแมวลักษณะดีถูกต้องตามตำรามาขายก็จะให้ราคางาม จึงเกิดการ
"ย้อมแมว"
คือจับเอาแมวทั่วไปมาแต้มแต่งให้ดูมีลักษณะเหมือนแมวมงคล
แล้วจึงนำไปหลอกขาย
สำนวนย้อมแมวขายในปัจจุบันมักจะใช้ในการทำธุรกิจการค้าที่หวังผลกำไร
หลอกขายสินค้าที่ภายนอกดูดี แต่แท้ที่จริงแล้วด้อยคุณภาพ
บางโอกาสอาจใช้ในการพูดประชดประชัน
เสียดสีสาวงามที่เข้าประกวดตามเวทีต่าง ๆ
ที่มักถูกปรับโฉมให้สวยงามหลอกสายตาคณะกรรมการ ตรงตามความหมายของสำนวนคือ
ตกแต่งสิ่งที่ไม่ดี ไม่สวยงาม โดยมีเจตนาให้ผู้อื่นเชื่อว่าเป็นของดี
สำนวนทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่มีที่มาและความหมายแฝงอยู่
แต่ละสำนวนเมื่อฟังแล้วอาจจะให้ความรู้สึกไม่ดี
อาจจะฟังแล้วคิดไปในทางที่ลบ บางสำนวนอาจใจร้ายกับแมว
หรือมองว่าแมวเป็นสัตว์ที่ไม่น่าไว้วางใจ
อาจเป็นเพราะสุภาษิตสำนวนเหล่านี้มีมาแต่โบราณ
โดยสำนวนเป็นสิ่งที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสังคมและวัฒนธรรม
ซึ่งยุคสมัยนั้นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับแมวอาจยังมีระยะห่างระหว่างกัน
แต่จากการที่คนไทยรู้จักสังเกตอากัปกิริยาของแมวแล้วนำมาฝูกเป็น
สำนวนได้ นั่นอาจจะทำความเข้าใจได้ว่า
ระหว่างคนไทยกับแมวในสมัยก่อนย่อมมีความผูกพันกันในระดับหนึ่ง
เพียงแต่อาจจะยังไม่กระชับแน่นแฟ้นดังเช่นความรู้สึกที่คนรักแมวมีให้แก่แมว
แสนรักในยุคสมัยนี้ก็เป็นได้...ว่าไหมคะ

หมวด ก
ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง    หมายถึง    คนเราจะสวยได้ก็ด้วยการรู้จักแต่งตัว
กินบนเรือนขี้รดบนหลังคา    หมายถึง    คนที่เนรคุณ
กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้    หมายถึง    ช้าเกินการ ได้อย่างเสียอย่าง
กิ้งก่าได้ทอง    หมายถึง    คนที่ได้ดี ลืมตัว ลืมอดีต
กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง    หมายถึง    ตัวเองรู้เอง ทำเอง
ไก่แก่แม่ปลาช่อน    หมายถึง    ผู้หญิงสูงอายุ ที่มีเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว
ใกล้เกลือกินด่าง    หมายถึง    ใกล้ของดี แต่ไม่ได้กิน
ก่อกรรมทำเข็ญ    หมายถึง    ทำให้ยุ่งยากลำบากใจ
กิ่งทองใบหยก    หมายถึง    คู่แต่งงานที่เหมาะสมกัน
กินข้าวร้อนนอนสบาย    หมายถึง    เกียจคร้าน ขอบทำอะไรจวนตัว

หมวด ข
ขิงก็ราข่าก็แรง    หมายถึง    ต่างฝ่ายต่างแรงด้วยกัน
ขี้ริ้วห่อทอง    หมายถึง    ดูภายนอกไม่สวยงามแต่ข้างในมีค่ามาก
ข้าวยากหมากแพง    หมายถึง    เกิดขัดสนอาหารขึ้นในบ้านเมือง
ไข่ในหิน    หมายถึง    ของที่ระมัดระวังอย่างมาก
ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน    หมายถึง    ทำอาการโกรธจัดเต็มที่
ขมิ้นกับปูน    หมายถึง    เป็นศัตรูกัน เข้ากันไม่ได้
ขี้หมูรา ขี้หมาแห้ง    หมายถึง    เรื่องเล็ก ๆ น้อย
ข้าวใหม่ปลามัน    หมายถึง    คนที่แต่งงานกันใหม่ ๆ ย่อมมีความสุขสดชื่น
ขว้างงูไม่พ้นคอ    หมายถึง    ไม่รู้ว่าจะทำอย่าไรดี
เขียนเสือให้วัวกลัว    หมายถึง    ขู่หรือหลอกให้กลัว
  
หมวด ค
คางคกขึ้นวอ    หมายถึง    คนถ่อยหรือต่ำช้า
คาบลูกคาบดอก    หมายถึง    คับขัน สองแง่สองมุม ครึ่งดีครึ่งเสีย
คตในข้องอในกระดูก    หมายถึง    ไม่ซื่อ
คบคนจรหมอนหมิ่น    หมายถึง    คบกับคนที่ไม่รู้จักกันดี อาจมีอันตรายได้ง่าย
คลื่นกระทบฝั่ง    หมายถึง    เอะอะเอาประเดี๋ยว แล้วก็เงียบหายไป
คู่เรียงเคียงหมอน    หมายถึง    การเป็นสามีภรรยากัน
คอตก    หมายถึง    ผิดหวังอย่างแรง
คอเป็นเอ็น    หมายถึง    เถียงอย่างไม่ลดละ
คมในฝัก    หมายถึง    เก่งแต่เงียบไว้ไม่โอ้อวด
คิดบัญชี    หมายถึง    แก้แค้น

หมวด ง
งูกินหาง    หมายถึง    พัวพันนุงนัง
งอมพระราม   หมายถึง     ตกทุกข์เหมือนพระรามต้องถูกขับไล่ไปอยู่ป่า
เงาตามตัว    หมายถึง    ไปไหนไปด้วย
เงื้อมมือ   หมายถึง     อำนาจที่ครอบงำ ไม่ให้หลุดไปได้
งมเข็มในมหาสมุทร    หมายถึง    งานที่ยากลำบาก
งูเงี้ยวเขี้ยวขอ     หมายถึง   เป็นคำเตือนของผู้ใหญ่ ไม่ให้ไปไหนเวลากลางคืน
เหงื่อไหลไคลย้อย     หมายถึง   ออกแรงทำงานหนัก ๆ
โง่เง่าเต่าตุ่น    หมายถึง    โง่เหลือเกิน
เงื้อง่าราคาแพง   หมายถึง     เมื่อคิดจะทำอะไรใครก็ลงมือทำเลย อย่ามัวเงื้อไม้เงื้อมือ


หมวด จ
ใจปลาซิว    หมายถึง    ไม่อดทน
จิ้งจกตีนศาล    หมายถึง    พวกกระจอกงอกง่อย
เจ้ายศเจ้าอย่าง    หมายถึง    ถือตัวถือศักดิ์ มีพิธีรีตรอง
เจ้าชู้ประตูดิน    หมายถึง    เจ้าชู้ที่เกี้ยวไม่เลือกหน้า
เจ้าชู้ไก่แจ้    หมายถึง    เจ้าชู้ที่ชอบกรีดกรายไปมา
จับเสือมือเปล่า    หมายถึง    การทำงานโดยไม่ได้ลงทุน
จับแพะชนแกะ    หมายถึง    เอาทางโน้นมาใช้ทางนี้
จูบคำถลำแดง    หมายถึง    มุ่งอย่างหนึ่ง กลับไปได้อีกอย่างหนึ่ง

หมวด ฉ
เฉโก    หมายถึง    ฉลาดแกมโกง
แฉโพย    หมายถึง    เปิดให้เห็นความลับ
ฉับพลันทันด่วน    หมายถึง    โดยเร็ว
ฉลาดแกมโกง    หมายถึง    ฉลาดในทางทุจริต
ฉิบหายขายตน    หมายถึง    ล่มจม
ฉิบหายวายป่วง     หมายถึง   ล่มจม
ฉกชิงวิ่งราว    หมายถึง    พวกที่ถือโอกาสแย่งชิงทรัพย์
ฉ้อราษฎร์บังหลวง     หมายถึง   เบียดบังเงินหลวง

หมวด ช
ชักใบให้เรือเสีย    หมายถึง    ทำเรื่องให้แชเชือน
ชักแม่น้ำทั้งห้า    หมายถึง    ยกเหตุผลหว่านล้อม
ชักหน้าไม่ถึงหลัง    หมายถึง    ใช้จ่ายไม่เพียงพอ
ชักธงขาว    หมายถึง    ยอมแพ้
ชักน้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน    หมายถึง    นำข้าศึกหรือศัตรูเข้าบ้านเมือง
ชาติเสือไม่ทิ้งลาย    หมายถึง    คนเก่งย่อมมีแววปรากฏอยู่
ชิงสุกก่อนห่าม    หมายถึง    กระทำในสิ่งที่ไม่ถึงเวลา
ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้    หมายถึง    ว่าอะไรว่าตามกัน
ชี้โพรงให้กระรอก    หมายถึง    ชี้ช่องให้คนร้าย
ชุบมือเปิบ    หมายถึง    ฉวยเอาผลประโยชน์เมื่อคนอื่นทำสำเร็จแล้วโดยมิต้องลงทุน

หมวด ซ
ซุ่มคม    หมายถึง    ซ่อนความฉลาดไว้ไม่อวดดี
ซื้อดีกว่าขอยืม     หมายถึง   อย่าหวังพึ่งพาผู้อื่น
ซื่อตรงจงรัก    หมายถึง    ภักดี
ซาบซึ้งตรึงใจ    หมายถึง    ถูกใจมากจนจำได้แนบเนียน
ซัดเซพเนจร    หมายถึง    เที่ยวไปเรื่อย ๆ ไม่มีจุดหมาย
ซื้อร่มหน้าฝน    หมายถึง    ซื้อของโดยไม่วางแผนล่วงหน้าย่อมได้ราคาแพง
ซื่อเหมือนแมวนอนหวด    หมายถึง    ซื่อจนเซ่อ
ซังกะตาย    หมายถึง    ทนอยู่อย่างไม่มีความหวัง ฝืนใจ อย่างเสียมิได้

หมวด ด
ได้พี่เสียดายน้อง    หมายถึง    ได้ของสิ่งหนึ่ง ยังเสียดายอยากได้อีกสิ่งหนึ่ง
ดาบสองคม    หมายถึง    มีทั้งโทษและคุณ อาจดี อาจเสียก็ได้
ดาวล้อมเดือน    หมายถึง    มีบริวารแวดล้อมมาก
ดินพอกหางหมู     หมายถึง   การงานที่คั่งค้างพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ
ได้ทีขี่แพะไล่    หมายถึง    ซ้ำเติมเมือเห็นผู้อื่นเพลี่ยงพล้ำ
เด็กเลี้ยงแกะ   หมายถึง     คนชอบพูดปดจนไม่มีใครเชื่อถือ
เด็ดดอกฟ้า    หมายถึง    เอาหญิงสูงศักดิ์มาเป็นภรรยา
ได้หน้าได้ตา    หมายถึง    ได้ชื่อเสียงเกียรติยศ


หมวด ต
เต่าใหญ่ไข่กลบ    หมายถึง    ทำผิดแล้วพรางความผิด
ตกนรกทั้งเป็น   หมายถึง     ได้รับความลำบากแสนสาหัส
ตัดหางปล่อยวัด    หมายถึง    เหลือขอจนต้องปล่อยให้ไปตามเรื่อง
ตบมือข้างเดียวไม่ดัง     หมายถึง   อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมก็ย่อมไม่เกิดผล
ต่อความยาวสาวความยืด    หมายถึง    พูดว่ากันไปกันมา ไม่รู้จักจบ
ตัดช่องน้อยแต่พอตัว   หมายถึง     ตายหนีความลำบากไปคนเดียว
ตักน้ำรดหัวตอ    หมายถึง    พูดเท่าไหร่ก็ไม่รู้เรื่อง
ตาบอดได้แว่น    หมายถึง    ได้ในสิ่งที่ตนไม่มีทางจะใช้
ตีปลาหน้าไซ    หมายถึง    เข้าไปขัดขวางผลประโยชน์ของผู้อื่น
ต่อหน้ามะพลับลับหลังตะโก     หมายถึง   ต่อหน้าทำเป็นดีลับหลังกลับเป็นคนเลว

หมวด ถ
ถึงพริกถึงขิง    หมายถึง    เผ็ดร้อน หรือดุเดือด
ถอยหลังเข้าคลอง    หมายถึง    กลับไปสู่ความไม่ก้าวหน้า
ถอนรากถอนโคน   หมายถึง     ทำลายสิ้นเชื้อสาย
ถอนหงอก    หมายถึง    ไม่นับถือความเป็นผู้ใหญ่ พูดว่าให้เสียผู้ใหญ่
ถึงลูกถึงคน    หมายถึง    รุนแรง
ถอดเขี้ยวถอดเล็บ    หมายถึง    ละพยศ ละความเก่งกาจ
ถีบหัวส่ง   หมายถึง     ไล่ไปให้พ้น ไม่ใยดีอีกต่อไป
ถูกเส้น    หมายถึง    เข้ากันได้ ชอบพอกัน
เถรตรง      หมายถึง  ซื่อหรือตรงเกินไป ไม่มีไหวพริบ
ถ่านไฟเก่า     หมายถึง   คนที่เคยเป็นคู่รักกันมาก่อน แม้เลิกกันไปเมื่อมาพบใหม่ก็อาจรักกันได้

หมวด ท
ทิ้งไผ่ตัวเก็ง    หมายถึง    หวังชนะแน่นอน
ทรัพย์ในดินสินในน้ำ    หมายถึง    ความอุดมสมบูรณ์
แทงใจดำ     หมายถึง   พูดเสียดแทงถูกเป้าหมาย
ทะลุปรุโปร่ง    หมายถึง    อ่านความรู้สึกของอีกฝ่ายได้ตลอดหมด
ทางหนีทีไล่    หมายถึง    คิดการอะไรไว้ ก็คิดถึงทางที่จะเสียไว้ด้วย
เทือกเถาเหล่ากอ    หมายถึง    ลำดับวงศ์ญาติที่เป็นพี่น้องกัน
ทุกข์ทนหม่นไหม้     หมายถึง   ความทุกข์ยากขนาดหนัก
เทศน์ไปตามเนื้อผ้า   หมายถึง     พูดหรือสั่งสอนไปตามตำรา
ทำเป็นทองไม่รู้ร้อน     หมายถึง   เฉยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ทุบหม้อข้าว    หมายถึง    ตัดอาชีพ ทำลายอาชีพ


หมวด น
น้ำท่วมปาก    หมายถึง    พูดไม่ออกบอกไม่ได้ เพราะมีความจำเป็นบีบบังคับ
น้ำนิ่งไหลลึก    หมายถึง    คนที่เงียบ หงิม ๆ มักจะมีความคิดลึกซึ้ง
น้ำลดตอผุด    หมายถึง    เมื่อหมดอำนาจวาสนาความชั่วที่ทำไว้ก็ปรากฎ
น้ำขึ้นให้รีบตัก     หมายถึง   มีโอกาสดีควรรีบทำ
ในน้ำมีปลาในนามีข้าว    หมายถึง    ความอุดมสมบูรณ์
น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า    หมายถึง    คนเราต้องพึ่งพาอาศัยกัน
น้ำท่วมทุ่มผักบุ้งโหรงเหรง    หมายถึง    พูดมากแต่หาสาระไม่ได้
น้ำซึมบ่อทราย     หมายถึง   สิ่งที่ตักตวงไม่มีวันหมดสิ้น
น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ   หมายถึง     ฝ่ายข้างน้อยย่อมแพ้ฝ่ายข้างมาก
น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก     หมายถึง   รู้จักเก็บความรู้สึกที่ไม่ดีไว้

หมวด บ
บ้านเมืองมีขื่อมีแป    หมายถึง    บ้านเมืองหรือประเทศย่อมมีกฏหมายคุ้มครอง
บนบานศาลกล่าว     หมายถึง   ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทวดาช่วยเหลือ
บ้านแตกสาแหรกขาด    หมายถึง    กระจัดกระจายแยกกันไปคนละทิศละทาง
เบี้ยวหัวแตก    หมายถึง    เงินที่ไม่เป็นก้อนเป็นกำ เงินที่ได้มาครั้งละน้อย
เบียดก่อนบวช    หมายถึง    มีภรรยาก่อนบวช
บุญทำกรรมแต่ง    หมายถึง    พรหมลิขิต โชควาสนา
บุญหนักศักดิ์ใหญ่    หมายถึง    คนมีอำนาจวาสนา
บาปบุญคุณโทษ    หมายถึง    ตักเตือนให้รู้ถึงความดีความชั่ว
บ้านเคยอยู่อู่เคยนอน    หมายถึง    สถานที่ตนเคยอยู่มาก่อน
บัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น     หมายถึง   ไม่ให้เดือนร้อนด้วยกันทั้งสองฝ่าย

หมวด ป
ปลูกเรือนคร่อมตอ    หมายถึง    แต่งงานกับชายที่มีเจ้าของแล้ว
ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง    หมายถึง    สร้างสรรเอาตามใจชอบ
ปากคอยาวกว่าปากกา     หมายถึง   คนสามารถแพร่ข่าวได้เร็วกว่ากา
ปากเป็นเอกเลขเป็นโท    หมายถึง    การพูดจากสำคัญกว่าวิชาหนังสือ
ปากหวานก้นเปรี้ยว   หมายถึง     พูดจาอ่อนหวาน แต่ไม่ยอมเสียเปรียบใคร
ปากหอยปากปู   หมายถึง     มักนินทาเล็กนินทาน้อย
ปากร้ายใจดี   หมายถึง     ชอบดุด่า แต่มีเมตตากรุณา
ปากว่าตาขยิบ   หมายถึง     พูดอย่างหนึ่ง แต่ทำตรงกันข้าม
ปลากระดี่ได้น้ำ   หมายถึง     แสดงทำดีใจจนเกินงาม
ปีกกล้าขาแข็ง    หมายถึง    สามารถดำรงชีวิต หรือทำมาหาเลี้ยงตนได้

หมวด ผ
ผงเข้าตา    หมายถึง    มีเรื่องเดือดร้อนเกิดกับตน
ผ่อนสั้นผ่อนยาว    หมายถึง    อะลุ้มอะล่วย ปฏิบัติให้สมควรแก่สิ่งแวดล้อม
ผ้าขี้ริ้วห่อทอง   หมายถึง     คนแต่งเก่า ๆ ขาด ๆ แต่ร่ำรวยมีทรัพย์
ผีซ้ำด้ามพลอย     หมายถึง   เมื่อตกอับหรือเคราะห์ร้าย
ผีถึงป่าช้า    หมายถึง    ต้องทำเพราะจำใจ
ผู้ดีแปดสาแหรก     หมายถึง   คนหยิบโหย่ง คนดัดจริต ทำอะไรไม่เป็น
ผู้ลาภมากดี    หมายถึง    ผู้ดีทั้งหลาย คนมีตระกูล หรือบรรดาศักดิ์สูง
ผิดเป็นครู     หมายถึง   พลาดลงแล้ว จำไว้จะได้ไม่ได้พลาดอีก
ผักชีโรยหน้า    หมายถึง    ทำดีพอพ้นตัว ความดี หรือความสวยที่งาม ลวงตาได้เพียงผิวเผิน
แผ่นดินไม่ไร้เท่าใบพุทรา    หมายถึง    ไม่หมดสิ้นเพียงแค่นี้ ยังมีอีกมากมาย

หมวด พ
พุ่งหอกเข้ารก    หมายถึง    ทำโดยเสี่ยงหาผลประโยชน์อันใดมิได้
เพชรตัดเพชร   หมายถึง     เก่งต่อเก่งเผชิญกัน
เพชรน้ำหนึ่ง   หมายถึง     ของดีเยี่ยม คนดีเยี่ยม
เพชรร้าว    หมายถึง    หญิงสาวที่ไม่บริสุทธิ์แท้
แพแตก     หมายถึง   กระจัดกระจายไปคนละทิศ
แพะรับบาป    หมายถึง    คนผู้รับกรรมแทนการกระทำของผู้อื่น
พลัดที่นาคาที่อยู่    หมายถึง    ย้ายไปจากที่อยู่ ระเหเร่ร่อน
พายเรือทวนน้ำ   หมายถึง     ทำด้วยความยากลำบาก
พูดจนลิงหลับ    หมายถึง    พูดจนผู้ฟังเคลิบเคลิ้ม
พิมเสนแลกเกลือ     หมายถึง   คนมีเกียรติมีเรื่องราวกับคนเลว จะทำให้เสื่อมเกียรติไปไม่สมค่าสมราคา

หมวด ฟ
ฟังความข้างเดียว    หมายถึง    รับรู้เรื่องจากฝ่ายเดียวแล้วด่วนตัดสิน
ฟ้าไม่กระเทือนสันหลัง    หมายถึง    โทษทัณฑ์หรือเคราะห์กรรมที่เกิดจากอำนาจเบื้องบน
ไฟจุกตูด    หมายถึง    มีธุระร้อนมาก
ไฟสมขอน     หมายถึง   อารมณ์ร้อนรุ่มที่คุกรุ่นอยู่ในใจ
ไฟไหม้ฟาง    หมายถึง    อารมณ์ที่เกิดขึ้นอย่างวู่วามสักพักหนึ่งแล้วก็หายไป
ฟื้นฝอยหาตะเข็บ     หมายถึง   คุ้ยเขี่ยเอาเรื่องที่สงบแล้วให้กลับมาเป็นเรื่องอีก
ฟังหูไว้หู    หมายถึง    เชื่อบ้าง ระแวงบ้าง อย่าเชื่อสนิทเชื่อเพียงครึ่งเดียว
ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ     หมายถึง   กาลเทศะ ที่สูงที่ต่ำ ของสูงของต่ำ
ฟังไม่ได้ศัพท์ จับมากระเดียด    หมายถึง    รู้เรื่องไม่ละเอียดถี่ถ้วน ก็ถือเป็นจริงเป็นจริง
ฟาดเคราะห์    หมายถึง    ตัดสินใจยอมเสียสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปเพื่อให้หมดเคราะห์

หมวด ม
มดแดงแฝงพวงมะม่วง    หมายถึง    ไม่ได้ประโยชน์จากสิ่งที่อยู่
มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก    หมายถึง    คนกลับกลอกเอาแน่นอนอะไรไม่ได้
มะนาวไม่มีน้ำ   หมายถึง    พูดไม่น่าฟัง
มะพร้าวตื่นดก ยาจกตื่นมี    หมายถึง    คนจนมักตื่นเต้นเมื่อร่ำรวย
มือใครยาวสาวได้สาวเอา   หมายถึง     ใครดีใครได้
มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ    หมายถึง    ไม่ช่วยแล้วยังกีดขวาง
ไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย   หมายถึง     ไม่มีเค้ามาก่อน
แมวไม่อยู่หนูร่าเริง   หมายถึง     ผู้ใหญ่ไม่อยู่ผู้น้อยเหลิง
ม้าดีดกระโหลก    หมายถึง    กริยาที่หญิงเดินไม่สุภาพ
มือถือสากปากถือศีล    หมายถึง    ไปวัดฟังธรรมถือศีล แต่กระทำตนไม่ดีหรือพูดดีแต่ใจไม่ดี

หมวด ย
ยาจกเห็นใจเศรษฐี    หมายถึง    จะทำอะไรก็ให้ถูกต้องตามเหตุผล
ย้อมแมวขาย    หมายถึง    ปรุงแต่งของเลวแล้วหลอกว่าเป็นของดีขาย
ยื่นหมูยื่นแมว    หมายถึง    แลกเปลี่ยนสิ่งของกันโดยไม่ให้เสียเปรียบ
โยนกลอง    หมายถึง    โยนความผิดให้ผู้อื่น
ยกเมฆ     หมายถึง   พูดเดาสุ่ม
ยกยอปอปั้น   หมายถึง     ยกย่องหรือสรรเสริญ หรือสนับสนุนให้เด่นขึ้น
ยกภูเขาออกจากอก     หมายถึง   หายหนักใจ
ยามรักน้ำต้มผัก ก็ว่าหวาน    หมายถึง    เมื่อรักก็เห็นดีทุกอย่าง
ยกครูต่อหน้า ยอข้าเมื่อลับหลัง     หมายถึง   ยกย่องครูต่อหน้ายกย่องชมเชยผู้น้อยลับหลัง

หมวด ร
รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี    หมายถึง    ให้รู้จักเอาตัวรอด
รู้เช่นเห็นชาติ    หมายถึง    รู้กำพืด รู้นิสัยใจคอ
รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา     หมายถึง   ให้ประพฤติตนดี จะได้ดี
รักสนุกทุกข์ถนัด    หมายถึง    สนุกมาก ก็มักจะทุกข์มาก
ร่มไม้ชายคา    หมายถึง    ที่อยู่อาศัย
รวบหัวรวบหาง    หมายถึง    ฉวยโอกาสเอาหรือทำให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็ว
ร่วมหัวจมท้าย   หมายถึง     ตกลงเป้นสามีภรรยากัน
รอดปากเหยี่ยวปากกา   หมายถึง     แคล้วคลาดและหลุดพ้นจากอันตรายต่าง ๆ
รีดเลือดกับปู    หมายถึง    เคี่ยวเข็ญเอากับผู้ที่ไม่มีทางจะให้ เช่น รีดเงินจากคนจน

หมวด ล
เลือดย่อมข้นกว่าน้ำ    หมายถึง    พี่น้องย่อมดีกว่าคนอื่น
ล้วงคองูเห่า   หมายถึง     กล้าทำชั่วโดยไม่เกรงกลัวผู้ใด
ลืมตัวเหมือนวัวลืมตัว   หมายถึง     ลืมพื้นเพเดิมของตนเอง
ลูกไก่ในกำมือ    หมายถึง    ผู้ที่ไม่มีทางต่อสู้
ลูกขุนพลอยพยัก    หมายถึง    ผู้น้อยคอยตามผู้ใหญ่
ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น     หมายถึง   บุคคลย่อมเป็นตามเผ่าพันธุ์
ล้มลุกคลุกคลาน   หมายถึง     ดิ้นรนกระเสือกกระสน
ล้มหมอนนอนเสื่อ    หมายถึง    ป่วยเจ็บถึงขนาดต้องนอนรักษาตัว
ลาโง่    หมายถึง    คนโง่
ล้มทั้งยืน     หมายถึง   ฉิบหายหรือหมดตัวโดยกะทันหัส

หมวด ศ
ศอกกลับ    หมายถึง    ย้อนว่าสวนคำ กระทำการแก้แค้น
ศิษย์มีครู    หมายถึง    ศิษย์เก่งที่มีครูเก่ง
ศึกในอก     หมายถึง   ความรู้สึกนึกคิดที่สุดจะหักห้ามได้ การเอาชนะใจตนเอง
ศึกหน้านาง    หมายถึง    การวิวาทหรือต่อสู้กันต่อหน้าหญิงที่ตนหมายปอง
เศรษฐียังขาดไฟ    หมายถึง    คนเรามีวันผิดพลาด
ศาลา นารี คงคา    หมายถึง    สิ่งที่ถือว่าเป็นของกลาง
ศรศิลป์ไม่กินกัน   หมายถึง     ไม่ถูกกัน ไม่ลงรอยกัน ไม่ถูกชะตากัน ทำอะไรกันไม่ได้

หมวด ส
สวยแต่รูปจูบไม่หอม    หมายถึง    รูปร่างหน้าตาดีแต่ขาดคุณสมบัติสตรี
สอดรู้สอดเห็น    หมายถึง    แส่รู้ในเรื่องของคนอื่น
สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ   หมายถึง     สอนในสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว
สาวไส้ให้กากิน   หมายถึง     เอาความลับของฝ่ายตนไปเปิดเผยให้คนอื่นรู้
สิบเบี้ยใกล้มือ    หมายถึง    ของหรือประโยชน์ที่อยู่ใกล้ก็เอาไว้ก่อน
สิบแปดมงกุฎ    หมายถึง    ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมมาก
สีซอให้ควายฟัง    หมายถึง    สอนคนโง่ไม่มีประโยชน์
สุ่มสี่สุ่มห้า    หมายถึง    ไม่ดูหน้าดูหลัง
เสือซ่อนเล็บ    หมายถึง    คนคมในฝัก เก่งแต่เก็บไว้ไม่โอ้อวด
เสือกระดาษ   หมายถึง     อำนาจที่มีเป็นลายลักษณะอักษรเท่านั้น

หมวด ห
หาเหาใส่หัว    หมายถึง    หาความเดือนร้อนใส่ตัวโดยใช่เหตุ
หญ้าปากคอก     หมายถึง   คุ้นเสียจนมองข้ามไป
หนวดเต่า เขากระต่าย   หมายถึง     สิ่งที่หาได้ยากยิ่ง
หนอนหนังสือ     หมายถึง   คนที่ชอบอ่านหนังสือเป็นประจำ
หน้าซื่อใจคด     หมายถึง   มีหน้าตาซื่อตรง แต่ในในคิดร้าย
หน้าเนื้อใจเสือ     หมายถึง   หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใจแต่ในใจดุร้าย
เห็นกงจักรเป็นดอกบัว     หมายถึง   หลงผิดคิดว่าความชั่วเป็นความดี
หมองูตายเพราะงู   หมายถึง     ทำหน้าที่อะไรมักได้รับภัยจากหน้าที่นั้น
เห็นช้างขี้ ชี้ตามช้าง   หมายถึง     ทำอย่างผู้อื่นจนเกินกำลังตน
เห็นช้างเท่าหมู   หมายถึง     โกรธจัดจนขาดสติ


หมวด อ
อ้อยเข้าปากช้าง    หมายถึง    สิ่งตกอยู่ในมือใครแล้วยากจะได้คืน
อกไหม้ไส้ขม     หมายถึง   ความทุกข์อย่างแสนสาหัส
อดเปรี้ยวไว้กินหวาน    หมายถึง    ค่อยทำค่อยไปแล้วจะได้ผลดี
อกสั่นขวัญแขวน   หมายถึง     ตกใจขนาดหนัก
อดอยากปากแห้ง   หมายถึง     ไม่มีอาหารจะกิน
เอาหูไปนาเอาตาไปไร่    หมายถึง    ทำไม่รู้ไม่เห็น
อย่าเทน้ำพริกไปกินแกง     หมายถึง   อย่าคาดคะเนล่วงหน้า โดยยังไม่เห็นผล
เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน    หมายถึง    แสดงความรู้หรืออวดรู้กับผู้ที่รู้เรื่องดีกว่า